![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
1. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร | |
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ.2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายองค์ประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงมีความงามตามแบบศิลปสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า "พระศรีธรรมาโศกราช" ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรม (พระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วนวิหารเขียน และวิหาร โพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา |
![]() |
2. พระวิหารสูง | |
หรือหอพระสูง เป็นปูชยสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง ถนนราชดำเนิน เรียกชื่อตามลักษณะของการ ก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นปกติดถึง2.10 เมตร สันนิฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในพระวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียวสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย |
![]() |
3. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ 11 นครศรีธรรมราช | |
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดสวนหลวงตะวันออกมาก่อนตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2517 จัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในแถบภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และชุมพร มีห้องแสดงศิลปหัตถกรรมของใช้พื้นบ้าน ส่วนสาขาหอสมุดแห่งชาติเปิดบริการให้ประชาชนเมื่อ พ.ศ. 2519 มีหนังสือเก่าที่หายาก และหนังสือสำคัญอื่น ๆ ส่งมาจากหอสมุดแห่งชาติส่วนกลางไว้ศึกษา |
![]() |
4. พระพุทธสิหิงค์ | |
ประดิษฐานภายในหอพระพุทธสิหิงค์บริเวณศาลากลางจังหวัด เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากษัตริย์ลังกาโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และมาอยู่ประเทศไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันพระพุทธสิงหิงค์ ในประเทศไทยมีอยู่ 3 องค์ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พระวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราชหอพระพุทธสิหิงค์นี้เดิมเป็นหอพระประจำวังของเจ้าพระยานคร (น้อย) ภายในหอแบ่งเป็นสองตอน ตอนหน้าเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์และพระลากเงิน พระลากทอง ส่วนหอ ตอนหลังเป็นที่บรรจุอัฐิของสกุล ณ นคร |
5. หอพระอิศวร | |
อยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรและฐานโยนิ รวมทั้งเทวรูปสำริดอีกหลายองค์ อาทิ เทวรูปศิวนาฎราชพระอุมา และพระพิฆเนศ ปัจจุบันเทวรูปสำริดในหอพระอิศวรเป็นของจำลอง ของจริงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช |
![]() |
6. หอพระนารายณ์ | ||
ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์อีกแห่งหนึ่ง ตรงกันข้ามกับหอพระอิศวร สิ่งที่พบภายในหอพระนารายณ์ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์สลักจากหินทรายสีเทาทรงหมวกรูปกระบอกปลายสอบและพระหัตถ์ขวาทรงสังข์ ราวพุทธศตวรรษ ที่ 10-11 ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช โบราณวัตถุที่ตั้งแสดงอยู่ในหอพระนารายณ์ขณะนี้คือ เทวรูปพระนารายณ์จำลองจากองค์จริงที่พบในแหล่งโบราณคดีแถบอำเภอสิชล |
![]() |
7. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดชายนา | |
ตั้งอยู่ที่ถนนพัฒนาการทุ่งปรัง เป็นสถานที่ที่มีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อให้เป็นสาขาของวัดสวนโมกข์ บรรยากาศในวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ |
![]() |
8. วัดท้าวโคตร |
9. วัดสวนหลวง | |
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชภายในเขตเมืองพระเวียงอันเป็นเมืองโบราณ สิ่งสำคัญของวัดนี้ คือวิหารที่มีผนังตกแต่งด้วยปูนปั้นแบบนูนต่ำ |
![]() |
10. วัดสวนป่าน | |
อยู่ใกล้สามแยกหอนาฬิกา ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมแบบตะวันตกงดงามมาก เป็นผลงานของแนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปชาวนครศรีธรรมราช |
![]() |
11. เจดีย์ยักษ์ | |
เจดีย์สูงใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเจดีย์พระบรมธาตุ อยู่ข้างสำนักงานเทศบาลนครศรีธรรมราช บริเวณวัดเจดีย์เดิมซึ่งร้างไปแล้ว สันนิษฐานว่าสร้างโดยโคทคีรีเศรษฐีชาวมอญ กับบริวารที่อพยพหลบภัยมาอาศัยเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณ ปี 1546(ข้างศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช) |
12. กุฎิทรงไทยวัดวังตะวันตก | |
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน บริเวณที่เชื่อว่าตรงข้ามกับวังตะวันออกอันเป็นนิวาสสถานของเจ้าจอมปราง เดิมเป็นอุทยาน ต่อมาเจ้าพระนคร (น้อย) ยกวังตะวันออก และอุทยานตรงข้ามให้เป็นวัดเช่นเดียวกัน จึงเป็นวัดวังตะวันตก พ.ศ. 2431 พระครูกาชาด (ย่อง) พร้อมด้วยสานุศิษย์ได้สร้างกุฎิขึ้นหมู่หนึ่ง เป็นเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่ว แต่ละหลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน ตัวเรือนฝาปะกน ตามประตู หน้าต่างและช่องลม ประดับด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร ปี พ.ศ. 2535 สมาคมสถาปนิก สยามคัดเลือกกุฎิวัดวังตะวันตกให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม | ![]() |
13. สระล้างดาบศรีปราชญ์ | |
สระน้ำเก่าแก่ เชื่อว่าเป็นสระที่ใช้ล้างดาบเล่มที่ใช้ประหารศรีปราชญ์เป็นกวีเอกสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีความผิดจึงถูกเนรเทศมายังเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อศรีปราชญ์ทำความผิดอีกครั้งหนึ่ง พระยานครศรีธรรมราชจึงได้สั่งประหารชีวิต ปัจจุบันสระล้างดาบศรีปราชญ์ ได้รับการปรับปรุงใหม่ อยู่ในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช |
![]() |
14. เก๋งจีนวัดประดู่และวัดแจ้ง | |
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินใกล้กับสนามกีฬาจังหวัด ก่อสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นที่ประดิษฐาน บัวบรรจุอัฐิของพระยานคร และเชื่อว่ารวมถึงพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย |
![]() |
15. ศาลาโดหก หรือศาลาประดู่หก | |
อยู่ริมถนนราชดำเนิน เดิมเป็นศาลานอกกำแพงเมืองตรงประตูชัยเหนือ อันเป็นที่พักของคนเดินทาง ซึ่งเข้าเมืองไม่ทัน เพราะปะตูเมืองปิดเสียก่อน เดิมศาลาแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างต้นประดู่ (ต้นโด) หกต้น ชาวนครเรียกว่า "หลาโดหก" ศาลาหลังที่มีอยู่ทุกวันนี้สร้างขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยอยู่ริมถนนราชดำเนิน ส่วนต้นประดู่ทั้งหกต้นได้ตายไปหมดแล้ว ทางเทศบาลจึงปลูกขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงประดู่ทั้งหกต้น |
![]() |
16. กำแพงเมือง | |
อยู่ริมถนนราชดำเนิน เป็นกำแพงที่ซ่อมขึ้นใหม่ตามรูปเดิมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการบูรณะเพิ่มเติมขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2533 เป็นแนวขนานไปกับคูเมือง ตั้งแต่ป้อมประตูชัยเหนือ หรือประตูชัยศักดิ์ ไปทางตะวันออก ยาวประมาณ 100 เมตร |
![]() |
17. สนามหน้าเมือง | |
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นสนามรบในอดีต ต่อมากลายเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมทั้งของรัฐและราษฎร เช่น เคยใช้เป็นที่สร้างพลับพลารับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลต่าง ๆ เป็นที่ประกอบพิธีสงกรานต์ ฝึกทหาร และยุวชนทหาร และจัดงานประเพณีที่สำคัญของชาวนครรวมทั้งงานรื่นเริงอื่น ๆ |
![]() |
18. บ้านหนังตะลุงสุชาต | |
ทรัพย์สิน เลขที่ 10/18 ถนนศรีธรรมโศก ซอย 3 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว(ไทยแลนด์ ทัวริสซึ่ม อวอร์ด) ประจำปี 2539 รางวัลดีเด่นประเภทวัฒนธรรมและโบราณสถาน บริเวณบ้านหนังตะลุงได้จัดแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์หนังตะลุง การแกะรูปหนังตะลุง การแสดงหนังตะลุงอย่างครบวงจร นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถเข้าชมและศึกษาศิลปวัฒนธรรมได้ทุกวันโทร. (075) 346394 | ![]() |
19. อนุสาวรีย์วีรไทย | |
หล่อด้วยทองแดงรมดำ เป็นรูปทหารสองมือจับปืนติดดาบเตรียมแทง ชาวบ้านเรียกว่า "จ่าดำ" หรือ "เจ้าพ่อดำ" สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของทหารไทยในภาคใต้ที่เสียชีวิตในการปะทะกับทหารญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ประดิษฐานอยู่บนถนนราชดำเนินในค่ายวชิราวุธอันเป็นที่ตั้งกองทัพภาคที่ 4 ปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในบริเวณค่ายวชิราวุธยังมีห้องประชุม บ้านรับรอง สนามกอล์ฟ สนามยิงปืนและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกด้วย | ![]() |
20. พิพิทธภัณฑ์เมือง | |
อยู่ตรงข้ามสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติของเมืองนครฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยการนำเสนอเรื่องราวที่ทันสมัย เช่น การค้าขายในอดีต ประวัติบุคคลสำคัญ อาณาจักร วีถีชีวิต ฯลฯ สอบถามข้องมูลโทร 075-358261 (หยุดวันจันทร์) |
![]() |
21. สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) | |
สวนสาธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 1,257 ไร่ ตั้งอยู่หลังสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ "สวนราชฤดี" ในสมัย ร.5 ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 มี สวนสัตว์เปิด สวนนกนานาชนิด สวนสุขภาพ รวมทั้งทะเลสาบซึ่งเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำ ที่อพยพมาจากถิ่นอื่นในช่วงมกราคมถึงมีนาคม ของทุกปี |
![]() |
22. บางปู |
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กม. อยู่ริมถนนบริเวณสามแยกบางปู เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา
เดิมบริเวณนี้จะมีการผลิตเฉพาะอิฐและกระถางดินเผาเท่านั้น แต่ปัจจุบันช่างปั้นจากหมู่บ้านโมคลานได้ย้ายออกมาตั้งร้านผลิตและจำหน่ายสินค้าเครื่องปั้นดินเผา
ได้รับการปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพให้มีหลากประเภทมากยิ่งขึ้น
![]()
|